
เชิญชวนร่วมงาน “78 ปี เกษตรปทุม” คณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี & COWBOY NIGHT
30 มกราคม 2012
ราชมงคลธัญบุรีนัดพบสถานประกอบการ
1 กุมภาพันธ์ 2012มทร.ธัญบุรี จัดทอดผ้าป่าต้นไม้ ปลูกจิตสำนึก คืนสีเขียวให้มหาวิทยาลัยฯชลธิชา ศรีอุบล/รายงาน
18 มกราคม ของทุกปี คือวันครบรอบวันสถาปนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดกิจกรรมมากมาย 1 ในกิจกรรมของงานในปีนี้ ได้แก่ การทอดผ้าป่าต้นไม้ คืนสีเขียวให้มหาวิทยาลัยฯ ว่าแต่กิจกรรมดีๆ ดังกล่าว มีความเป็นมาอย่างไร ฟังเจ้าของกิจกรรมเล่ากันเลยดีกว่า
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ถือเป็นกิจกรรมที่ดีและถือได้ว่าเป็นการคืนธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่สวยงามให้กับมหาวิทยาลัยได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังถือได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงไมตรีจิตที่ดี รู้จักการกตัญญูรู้คุณต่อสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่ ซึ่งสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะปลูกฝังและหยั่งรากลึกลงในจิตใจ สร้างสรรค์ให้นักศึกษารู้จักการให้ เป็นคนดีต่อสังคม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
18 มกราคม ของทุกปี คือวันครบรอบวันสถาปนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดกิจกรรมมากมาย 1 ในกิจกรรมของงานในปีนี้ ได้แก่ การทอดผ้าป่าต้นไม้ คืนสีเขียวให้มหาวิทยาลัยฯ ว่าแต่กิจกรรมดีๆ ดังกล่าว มีความเป็นมาอย่างไร ฟังเจ้าของกิจกรรมเล่ากันเลยดีกว่า
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ถือเป็นกิจกรรมที่ดีและถือได้ว่าเป็นการคืนธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่สวยงามให้กับมหาวิทยาลัยได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังถือได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงไมตรีจิตที่ดี รู้จักการกตัญญูรู้คุณต่อสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่ ซึ่งสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะปลูกฝังและหยั่งรากลึกลงในจิตใจ สร้างสรรค์ให้นักศึกษารู้จักการให้ เป็นคนดีต่อสังคม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม ประธานฝ่ายสงฆ์ เปิดเผยว่า เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น “ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตกับธรรมชาติ” ทำอย่างไรให้อยู่กับธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลงไป ในเมื่อชีวิตประจำวันมนุษย์เราต้องอาศัยอยู่กับ ดิน น้ำ ลม และไฟ ฉะนั้นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ต้องเรียนรู้เพิ่มคือ เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งความรู้ที่มนุษย์มี หรือว่าที่ถูกเก็บสะสมมา จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งความช่วยเหลือที่ถูกถ่ายทอดใส่ลงไปในหัวใจของมนุษย์ “การทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นการปลูกฝังความหยั่งลึกลงไป บนรากฐานของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นการทำบุญที่สร้างความร่มเย็นให้มหาวิทยาลัยฯ สร้างความเป็นสุขให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาภายใน มทร.ธัญบุรี”
“บิ๊ก” นายณัฐพล ดีอุต นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม นายกองค์การนักศึกษา และ “นก” นายวิชัย เพชรคงทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานสภานักศึกษา เล่าว่า กิจกรรมทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่ดี หลังจากน้ำลดทัศนียภาพภายในมหาวิทยาลัยฯ แห้งแล้ง จากที่ภายในมหาวิทยาลัยฯ มีต้นไม้เยอะๆ เพื่อเป็นการคืนสีเขียวให้บ้าน ทางองค์การนักศึกษาและสภานักศึกษา จึงมอบเงินจำนวน 200,000 บาท ให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อนำเงินไปซื้อต้นไม้มาปลูก นอกจากนี้ทางสโมสรนักศึกษาของคณะต่างๆ ได้จัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้ภายในคณะขึ้น “ต้นไม้ เปรียบเหมือนกับลมหายใจของพวกเราทุกคน เมื่อสภาพแวดล้อมดี มหาวิทยาลัยฯ น่าอยู่”
“โอ๊ต” นายพิพัฒน์ ส้มลิ้ม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประธานชมรมพุทธศาสตร์ เล่าว่า ทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น นำวิถีพุทธเข้าร่วมในการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยฯ ชาวพุทธมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ชาวพุทธ และยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างทัศนียภาพให้กับมหาวิทยาลัยฯ ให้กลับมาเหมือนเดิม “รวมวัฒนธรรมและศีลธรรม ประเพณี ไว้ในกิจกรรมเดียวกัน” ครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสสร้างบุญร่วมกัน เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยฯ กลับมาอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมดั้งเดิม
“พลอย” นางสาวพัสตร์ภูษิต บุนนาค นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า กิจกรรมทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่ดี เป็นการฟื้นฟูปรับทัศนียภาพ และดีใจที่ได้ช่วยคืนความเขียวกลับมาให้มหาวิทยาลัยฯ หลังจากได้ทำบุญในการทอดผ้าป่าแล้ว ยังได้ช่วยเพื่อนและพี่ๆ ปลูกต้นไม้ “ธรรมชาติถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลต่อการเรียน เมื่อสิ่งแวดล้อมดี อยากจะมาเรียน เมื่อออกมาจากห้องเรียนเครียดๆ เห็นต้นไม้ ดอกไม้ อาการเครียดก็จะลดน้อยลง” อยากให้มหาวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นอีก
การทำบุญ “ทอดผ้าป่าต้นไม้” ในครั้งนี้ นอกจากบุญกุศลที่ได้ทำร่วมกันแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษา ในฐานะของชาวพุทธ หน้าที่ที่พึงประสงค์ “วัฒนธรรมการช่วยเหลือ” ที่ได้ถูกถ่ายทอดและสืบทอดกันมานานกว่า 7 ปี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปลี่ยนจากสถาบันมาเป็น มหาวิทยาลัยฯ สร้างนักเทคโนโลยีที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นนักปฏิบัติ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการ การเรียนรู้กับการทำงาน (WorkIntegrated Learning-WIL) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development-R&D) ตามนโยบายหลักของ มทร.ธัญบุรี
“บิ๊ก” นายณัฐพล ดีอุต นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม นายกองค์การนักศึกษา และ “นก” นายวิชัย เพชรคงทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานสภานักศึกษา เล่าว่า กิจกรรมทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่ดี หลังจากน้ำลดทัศนียภาพภายในมหาวิทยาลัยฯ แห้งแล้ง จากที่ภายในมหาวิทยาลัยฯ มีต้นไม้เยอะๆ เพื่อเป็นการคืนสีเขียวให้บ้าน ทางองค์การนักศึกษาและสภานักศึกษา จึงมอบเงินจำนวน 200,000 บาท ให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อนำเงินไปซื้อต้นไม้มาปลูก นอกจากนี้ทางสโมสรนักศึกษาของคณะต่างๆ ได้จัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้ภายในคณะขึ้น “ต้นไม้ เปรียบเหมือนกับลมหายใจของพวกเราทุกคน เมื่อสภาพแวดล้อมดี มหาวิทยาลัยฯ น่าอยู่”
“โอ๊ต” นายพิพัฒน์ ส้มลิ้ม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประธานชมรมพุทธศาสตร์ เล่าว่า ทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น นำวิถีพุทธเข้าร่วมในการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยฯ ชาวพุทธมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ชาวพุทธ และยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างทัศนียภาพให้กับมหาวิทยาลัยฯ ให้กลับมาเหมือนเดิม “รวมวัฒนธรรมและศีลธรรม ประเพณี ไว้ในกิจกรรมเดียวกัน” ครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสสร้างบุญร่วมกัน เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยฯ กลับมาอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมดั้งเดิม
“พลอย” นางสาวพัสตร์ภูษิต บุนนาค นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า กิจกรรมทอดผ้าป่าต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่ดี เป็นการฟื้นฟูปรับทัศนียภาพ และดีใจที่ได้ช่วยคืนความเขียวกลับมาให้มหาวิทยาลัยฯ หลังจากได้ทำบุญในการทอดผ้าป่าแล้ว ยังได้ช่วยเพื่อนและพี่ๆ ปลูกต้นไม้ “ธรรมชาติถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลต่อการเรียน เมื่อสิ่งแวดล้อมดี อยากจะมาเรียน เมื่อออกมาจากห้องเรียนเครียดๆ เห็นต้นไม้ ดอกไม้ อาการเครียดก็จะลดน้อยลง” อยากให้มหาวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นอีก
การทำบุญ “ทอดผ้าป่าต้นไม้” ในครั้งนี้ นอกจากบุญกุศลที่ได้ทำร่วมกันแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษา ในฐานะของชาวพุทธ หน้าที่ที่พึงประสงค์ “วัฒนธรรมการช่วยเหลือ” ที่ได้ถูกถ่ายทอดและสืบทอดกันมานานกว่า 7 ปี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปลี่ยนจากสถาบันมาเป็น มหาวิทยาลัยฯ สร้างนักเทคโนโลยีที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นนักปฏิบัติ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการ การเรียนรู้กับการทำงาน (WorkIntegrated Learning-WIL) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development-R&D) ตามนโยบายหลักของ มทร.ธัญบุรี